top of page
เอ็มอาร์ไอ

เครื่องมือของเรา

MRI1.jpg

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ)

เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการตรวจที่ใช้เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ (Radio Frequency) เพื่อประมวลผลและสร้างเป็นภาพที่มีรายละเอียดภายในร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ตรวจได้ทุกอวัยวะ เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่ใช้รังสี จึงไม่ได้รับผลกระทบจากรังสีจากการเอกซเรย์ เป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่เจ็บ และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ใช้ตรวจคัดกรองวินิจฉัยโรค มีความถูกต้อง แม่นยำสูง สามารถตรวจได้ทุกระบบของร่างกายอย่างละเอียด เช่น อวัยวะ เนื้อเยื่อ และระบบโครงกระดูก นิยมใช้สำหรับ

  • ตรวจความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และหลอดเลือด

  • ตรวจดูเนื้องอก ซีสต์ และความผิดปกติอื่นๆ ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  • ตรวจดูการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อ และข้อ เช่น หลังและเข่า

  • โรคตับ ไต และอวัยวะภายในอื่นๆ

  • ความผิดปกติของมดลูกในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย

 

การตรวจด้วยเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อช่วยวินิจฉัยปัญหาต่างๆ เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีปัญหาการทำงานของสมอง เช่น ความจำแย่ลง การเคลื่อนไหวผิดปกติ ปวดศีรษะเรื้อรัง

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตัน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็ง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในชีวิตประจำวัน เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

 

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แอดไลฟ์เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric รุ่น Signa Explorer เป็นเครื่องรุ่นใหม่และใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความถูกต้องแม่นยำสูง สามารถตรวจได้ทุกระบบของร่างกายอย่างละเอียด และตรวจได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คนไข้รู้สึกสบายเวลาตรวจ

ซีที สแกน
CT_Scan2.jpg

การตรวจวัดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ซีที สแกน)

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการฉายรังสีเอกซเรย์ปริมาณต่ำในบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างภาพ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งภาพในระนาบต่างๆ หรือจะแสดงเป็นภาพ 3 มิติ ประเภทต่างๆ ได้ สามารถตรวจได้ทั้งส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ กระดูก และระบบหลอดเลือด อวัยวะ และกระดูกภายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ นิยมใช้ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ สามารถตรวจดูขนาดและตําแหน่งของก้อนเนื้องอกและตรวจติดตามผลหลังการรักษามะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งตับอ่อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อประเมินโรคกระดูก ความหนาแน่นของมวลกระดูก และกระดูกสันหลังของผู้ป่วยได้ ซีที สแกนสามารถใช้ตรวจได้หลายอย่าง เช่น

  • ตรวจคัดกรองก้อนมะเร็งในปอด

  • ตรวจปริมาณแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจโคโรนารี

  • ตรวจวัดปริมาณไขมันกลางช่องท้อง

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดอุดตัน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลสูง หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บ

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่แอดไลฟ์ของเราเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric ด้วยนวัตกรรมใหม่ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงของบริษัท General Electric เครื่องนี้มีโปรแกรมช่วยลดปริมาณรังสี ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีน้อยลง แต่มีความคมชัดความละเอียดของภาพมาก สามารถ SCAN ผู้ป่วยได้เร็วถึง 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาเพียง 0.4 วินาที ให้การสแกนที่รวดเร็ว สามารถใช้ตรวจได้หลายอย่าง และเหมาะสำหรับการสแกนอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เช่น หัวใจ ปอด และอวัยวะในทรวงอก

อัลตราซาวด์
Ultrasound.jpg

การตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการตรวจดูอวัยวะภายในร่างกายโดยใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพภายในร่างกาย เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคและเป็นแนวทางในการรักษา การตรวจอัลตราซาวด์ไม่มีการปล่อยรังสี จึงมีความปลอดภัยสูง

การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นเทคนิคอัลตราซาวด์พิเศษที่ประเมินการเคลื่อนไหวภายในร่างกาย ใช้ในการแสดงภาพและประเมินการไหลเวียนเลือดผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในร่างกาย

นอกจากใช้เพื่อวินิจฉัยประเมินโรคแล้ว ยังสามารถใช้ในการหาร่องรอยโรคในหลายๆ อวัยวะ เช่น

  • ตับ

  • ถุงน้ำดี

  • ม้าม

  • ตับอ่อน

  • ไต

  • กระเพาะปัสสาวะ

  • เต้านม

  • มดลูกและรังไข่ และทารกในครรภ์

  • ต่อมลูกหมาก

  • ต่อมไทรอยด์

  • หัวใจและลิ้นหัวใจ (การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง; Echocardiogram)

  • หลอดเลือด การอุดตันของระบบการไหลเวียนของเลือด (เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน) การตีบของหลอดเลือด (เช่น จากภาวะหลอดเลือดแข็ง)

 

 

การตรวจอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ ตรวจคัดกรองโรคอย่างละเอียด

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

 

เครื่องอัลตราซาวด์ที่แอดไลฟ์เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำด้านการผลิตเครื่องอัลตราซาวด์ โดยเครื่องอัลตราซาวด์รุ่น LOGIQ นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ได้ภาพที่คุณภาพยอดเยี่ยม การครอบคลุมการใช้งานด้วยคุณสมบัติขั้นสูงซึ่งใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

เอกซเรย์
IMG_1333_edited.jpg

การตรวจเอกซเรย์

การเอกซ์เรย์เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation) ที่มองไม่เห็น รังสีเอกซ์มีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพกระดูก เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายได้

การเอกซ์เรย์ใช้เพื่อการวินิจฉัยเนื้องอกหรือการบาดเจ็บของกระดูก และสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี การเอกซเรย์ทรวงอกเป็นการตรวจมาตรฐานใช้เพื่อตรวจหาภาวะปอดและหัวใจโต

การเอ็กซ์เรย์เป็นรูปแบบการถ่ายภาพทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดและมีการใช้มานานหลายทศวรรษ แต่ยังคงเป็นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการประเมินรอยโรคในกระดูก

บางคนกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการได้รับรังสีจากการเอกซเรย์ อย่างไรก็ตามหากใช้อย่างเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ทั้งนี้ทุกคนสามารถตรวจเอกซเรย์เพื่อคัดกรองโรคได้ ยกเว้น หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากรังสีอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าคุณอาจกำลังตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ

 

การเอ็กซ์เรย์เหมาะสำหรับ

  • ตรวจคัดกรองโรคปอด

  • การบาดเจ็บของกระดูกหรือโรค

  • ข้ออักเสบ

  • หัวใจโต

 

แอดไลฟ์เลือกใช้เครื่องเอกซเรย์ที่มีเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรคจาก SHIMADZU

แมมโมแกรม
IMG_3283_edited.jpg

แมมโมแกรม

การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม คือการตรวจเอกซเรย์เต้านม สามารถใช้สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หรือตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านม เช่น ก้อนเต้านม เจ็บเต้านม หรือลักษณะผิวที่ผิดปกติ

การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมมีบทบาทสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนที่จะแสดงอาการ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้

การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตรวจพบมะเร็งได้ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณที่ตรวจดูได้ยาก เช่น รักแร้ หรือก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็กมาก จึงมักทำอัลตราซาวด์เต้านมร่วมด้วย  เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับตรวจเนื้อเยื่อเต้านม โดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป แต่มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามาก ในการตรวจแมมโมแกรม เต้านมจะถูกบีบอัดระหว่างแผ่น 2 แผ่นเพื่อทำให้เนื้อเยื่อเต้านมเรียบ โดยจะฉายรูปเต้านมด้านละ 2 รูป โดยการบีบเนื้อนมเข้าหากัน และ ถ่ายรูปจากด้านบน และ ด้านข้างอย่างละหนึ่งรูป จะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีขึ้นและปริมาณรังสีที่ใช้จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

 

ผู้ที่ควรตรวจแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี ได้แก่

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

  • ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีก้อนที่เต้านมมาก่อน

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมจาก Hologic Selenia Dimensions เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่า Hologic เป็นผู้นำในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมาโดยตลอด และนวัตกรรมระบบ Selenia Dimensions ช่วยให้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพสูง ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง และมีความปลอดภัยเนื่องจากใช้ปริมาณรังสีเอกซ์น้อย และได้รับการออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์เพื่อความสบายขณะที่ทำการตรวจ

ความหนาแน่นมวลกระดูก
Bone_Densitometry.jpg

ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก

การวัดความหนาแน่นของกระดูก หรือที่เรียกว่า DEXA Scan (Dual-Energy X-ray Absorptiometry) ใช้ปริมาณรังสีเพียงเล็กน้อยเพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูกและเนื้อเยื่อ มักนิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนและเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อตรวจดูองค์ประกอบของกล้ามเนื้อและไขมันได้

การตรวจด้วย DEXA เป็นการตรวจง่าย รวดเร็วและไม่เป็นอันตราย นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน และถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้การตรวจด้วย DEXA ยังเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (มวลกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกาย) เนื่องจากมีความแม่นยำสูงและสามารถวัดการกระจายไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

  • ผู้ที่มีประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว

  • ผู้ที่รับประทานยาเหล่านี้เป็นประจำ ได้แก่ เสตียรอยด์ ยารักษาทางจิตเวช ยาลดกรด

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

  • นักกีฬา ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือผู้ที่สนใจอยากทราบมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันในร่างกาย

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจาก Lunar Prodigy เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric ซึ่งเป็นระบบเครื่องมือ DEXA ที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลก เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจาก Lunar Prodigy นี้ให้ความแม่นยำเป็นพิเศษ ใช้เอกซเรย์ปริมาณต่ำในการตรวจและให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับเนื้อเยื่อและองค์ประกอบของกระดูก ซึ่งอาจรวมถึงความหนาแน่นของกระดูก (BMD) มวลเนื้อเยื่อและไขมัน และเปอร์เซ็นต์ของไขมัน เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจาก Lunar Prodigy ใช้เทคโนโลยีลำแสงพัดลมแบบมุมแคบ ซึ่งเป็นการออกแบบและพัฒนามาเป็นเวลากว่า 30 ปี และมีการติดตั้งมากกว่า 14,500 เครื่องทั่วโลก

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
EKG.jpg

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจวัดกระแสไฟฟ้าจากการทำงานของหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นต้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่เร็วและมีความปลอดภัยสูง และนิยมใช้เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน ไขมันในเลือดสูง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการใจสั่น

คลื่นเสียงความถี่สูง
ECHO.jpg

การตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการอัลตราซาวด์ของหัวใจ ช่วยให้แพทย์เห็นการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนของเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถูกใช้เพื่อประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และอัตราการสูบฉีดเลือดของหัวใจ

 

การตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน ไขมันในเลือดสูง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • ผู้ที่เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องการตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง LOGIQ เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric

EST.jpg
คลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายเป็นการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าสามารถบีบตัวให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกายอย่างเพียงพอในขณะออกกำลังกาย เพราะเวลาออกกำลังกาย หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นและเต้นเร็วขึ้น จึงทำให้สามารถเห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายถูกใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงช่วยให้คำแนะนำและวางแผนการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย

 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายเหมาะสำหรับ

  • ผู้ชายที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

  • ผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไป

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน ไขมันในเลือดสูง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย รุ่น CASE V 6.7 เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท General Electric

VO2Max.jpg
อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด

การตรวจวัดอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด

การตรวจวัดอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด เป็นการวัดความสามารถในการใช้ออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดขณะออกกำลังกาย ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอดในการส่งออกซิเจนและพลังงานไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ บ่งบอกระดับความฟิตของร่างกาย ช่วยให้คุณทราบช่วงอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย (Training Zone) ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่เกิดการบาดเจ็บ

 

การตรวจวัดอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดเหมาะสำหรับ

  • นักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการวางแผนการออกกำลังกาย

  • การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม

  • การประเมินสมรรถภาพและความฟิตของร่างกาย

  • การติดตามการดำเนินโรคในผู้ป่วยโรคหัวใจและปอด

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องตรวจวัดอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด เป็นผลิตภัณฑ์ของ CardioCoach

YLK27465.jpeg

การวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด

ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด

การวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเป็นการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น โดยผ่านการวัดสองค่า คือการคํานวณหาคาความเร็วคลื่นชีพจรที่ผานหลอดเลือด (Pulse Wave Velocity; PWV) และค่าดัชนีอัตราส่วนความดันในหลอดเลือดแดงของแขนและขา ซึ่งเรียกว่า Ankle Brachial Index หรือ ABI คาความเร็วคลื่นชีพจรที่ผานหลอดเลือดนี้จึงนิยมใช้เพื่อตรวจดูการแข็งตัวของหลอดเลือดและใช้เพื่อทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจในอนาคต

ในขณะที่ค่าดัชนีอัตราส่วนความดันในหลอดเลือดแดงของแขนและขา เป็นดัชนีมาตรฐานที่ใช้สำหรับการตรวจหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เพื่อดูความเสี่ยงการอุดตันและแข็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ

การประเมินความแข็งของหลอดเลือดนี้ จะช่วยให้เห็นว่าหลอดเลือดแดงมีความยืดหยุ่นแค่ไหน และเลือดไหลผ่านได้ดีเพียงใด เหล่านี้เป็นตัวที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

 

การวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน ไขมันในเลือดสูง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • ผู้ที่เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องตรวจวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด รุ่น OMRON HBP-8000 (Omron Healthcare, จากประเทศญี่ปุ่น) เป็นอุปกรณ์ที่เหมือนการตรวจวัดความดันโลหิตทั่วไป ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ให้ความแม่นยำสูง และไม่มีความเสี่ยงหรือได้รับความเจ็บปวดในขณะตรวจ โดยผ่านการวัดสองค่า คือการคํานวณหาคาความเร็วคลื่นชีพจรที่ผานหลอดเลือด (Pulse Wave Velocity; PWV) และค่าดัชนีอัตราส่วนความดันในหลอดเลือดแดงของแขนและขา (Ankle Brachial Index; ABI) ค่าดัชนีดังกล่าวสามารถวินิจฉัยว่าหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงแขนหรือขามีการอุดตันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด การตรวจวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดนี้มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดที่ใช้เวลาน้อย เพียงวัดจากข้อมือและข้อเท้าทั้ง 4 ด้าน เป็นวิธีการวัดที่รวดเร็วและเชื่อถือได้

Fibroscan.jpg

Fibroscan 

Fibroscan เป็นเทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัว หรือเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย ผลตรวจไฟโบรสแกน สามารถช่วยในการติดตามผลดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับและภาวะตับแข็งโดยไม่ต้องตรวจชิ้นเนื้อตับ

 

การตรวจไฟโบรสแกนเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อในตับ เช่น โรคตับอักเสบ

  • เบาหวาน

  • อ้วน

  • ไขมันในเลือดสูง

  • การดื่มแอลกอฮอล์

  • การใช้ยาบางประเภท

 

ที่แอดไลฟ์เราเลือกใช้เครื่องไฟโบรสแกนยี่ห้อ Echosens รุ่น COMPAC 530

bottom of page